body { overflow: hidden; }
itemtype='https://schema.org/Blog' itemscope='itemscope' class="post-template-default single single-post postid-397 single-format-standard ast-desktop ast-separate-container ast-right-sidebar astra-4.6.15 ast-blog-single-style-1 ast-single-post ast-inherit-site-logo-transparent ast-hfb-header ast-normal-title-enabled elementor-default elementor-kit-5">

การใช้คันโยกทางเศรษฐกิจของบาซ่า แลกกับการซื้อนักเตะค่าตัวแพงในปี 2022

สโมสรบาร์เซโลนา หรือ บาซ่า เป็นหนึ่งในสโมสรจากทั่วยุโรปที่มีเรื่องราวร้อนแรงมากที่สุดทีมหนึ่งในช่วงกลางปีที่ผ่านมาจากการช๊อปปิ้งนักเตะที่มีชื่อเสียง ซึ่งก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงมาเสริมทัพอย่างดุเดือด ในขณะที่สภาวะทางการเงินของสโมสรไม่สู้ดีนัก ซึ่งในแต่ละดีลซื้อขายก็ได้สร้างความงุนงงให้แก่แฟนบอลบาซ่า รวมไปถึงแฟนบอลของทีมอื่นได้ไม่น้อย

สำหรับใครที่เห็นข่าวผ่านๆ ตา แต่ยังไม่เคยทราบรายละเอียดที่แท้จริงว่าคันโยกทางเศรษฐกิจของบาซ่านั้นคืออะไรกันแน่ วันนี้ KUBET จะพาทุกคนย้อนกลับไปดูกันตั้งแต่จุดเริ่มต้นของวิกฤต จุดเปลี่ยน และบรรดานักเตะค่าตัวแพงที่บาซ่าคว้าตัวมาได้จนถึงปัจจุบันกัน

ปิดฉากความสัมพันธ์ 21 ปี การขาย ลิโอเนล เมสซี่ เพื่อความอยู่รอดของ บาซ่า

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2021 สโมสรบาร์เซโลนาประกาศแยกทางกับสตาร์ดังระดับโลกอย่าง ลิโอเนล เมสซี่ โดยมีเหตุผลว่าไม่สามารถต่อสัญญานักเตะได้ เนื่องจากเพดานค่าเหนื่อยของสโมสรนั้นติดลบจากการทำธุรกิจที่ล้มเหลว และเป็นหนี้มากกว่า 1 พันล้านยูโรในยุคของ โจเซฟ มาเรีย บาร์โตเมว อดีตประธานสโมสร ซึ่งความล้มเหลวดังกล่าวก็ทำให้ ‘บาซ่า’ กลายเป็นสโมสรที่ทำการซื้อขายในตลาดนักเตะได้น้อยมาก และจำเป็นต้องลดค่าเหนื่อยของของผู้เล่นในทีมอีกหลายคน

การเสีย ลิโอเนล เมสซี่ ของบาซ่า ก็เปรียบเสมือนกับการเสียนักแสดงเบอร์หนึ่งของช่องโทรทัศน์ไป เพราะเขาถือเป็นนักเตะชูโรงที่นอกจากจะมีฝีเท้าที่ยอดเยี่ยม และพาทีมคว้าแชมป์ในรายการต่างๆ ได้แล้ว ยังสามารถสร้างเม็ดเงินจากการดึงดูดสินค้าต่างๆ เข้ามาจ้างสโมสรให้ไปเป็นพรีเซนเตอร์ได้อีกด้วย

โจน ลาปอร์ตา ฮีโร่ของ บาซ่า

ปี 2022 เมื่อการกลับเข้ามาคุมสโมสรอย่างเต็มรูปแบบของประธานสโมสรคนใหม่อย่าง โจน ลาปอร์ตา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2003-2010 เปรียบเสมือนฮีโร่ขี่ม้าขาวเข้ามาช่วยเหลือในยามวิกฤต โดยอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติกาตาลุญญาในวัย 60 ปี ได้ตัดสินใจรื้อบัญชีสโมสรออกมาทั้งหมดเพื่อตรวจสอบดูว่ามีส่วนไหนที่เป็นปัญหา และจะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไรได้บ้างให้สโมสรกลับมามีสภาวะทางการเงินที่ปกติอีกครั้ง

คันโยกทางเศรษฐกิจของบาซ่า เพื่อแก้ปัญหาการเงินและการเสริมทัพให้แข็งแกร่ง

หนึ่งในวิธีที่จะช่วยกู้วิกฤตสโมสรของ ลาปอร์ตา ได้ นั่นคือการใช้คันโยกทางเศรษฐกิจ โดยการขายหุ้นของธุรกิจที่สโมสรครอบครองอยู่ให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อทำให้ บาซ่า กลับมามีกำลังในการซื้อตัวนักเตะ รวมไปถึงการจ่ายค่าเหนื่อยของนักฟุตบอลตามเพดานที่กำหนดไว้ได้ด้วย

คันโยกที่ 1 ปลายเดือนมิถุนายน 2022 การขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดของบาซ่า ให้แก่ Sixth Street บริษัทที่เชี่ยวชาญในการลงทุนหลากหลายรูปแบบจากสหรัฐอเมริกา จำนวน 10% เป็นระยะเวลา 25 ปี เพื่อแลกกับเงิน 267 ล้านยูโร และนั่นก็ทำให้สถานการณ์ทางการเงินของบาซ่าดูดีขึ้น สังเกตได้จากข่าวการคว้าตัว ราฟินญา จาก ลีดส์ ยูไนเต็ด และเลวานดอฟสกี้ จาก บาเยิร์น มิวนิก รวมไปถึงการต่อสัญญาใหม่ของนักเตะปัจจุบันอย่าง อุสมาน เดมเบเล และ แซร์จี โรแบร์โต ในช่วงเวลานั้น

คันโยกที่ 2 สิงหาคม 2022 การขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดของบาซ่า ให้แก่ Sixth Street เพิ่มเติมอีก 15% ซึ่งมีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 400 ล้านยูโร โดยคันโยกครั้งที่สองของบาซ่าครั้งนี้ ทำให้สโมสรกลับมาเข้าเกณฑ์ของ ลา ลีกา อีกครั้ง กล่าวคือ สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ในลีกได้อย่างถูกต้อง และยังสามารถปลดหนี้ไปได้จำนวนหนึ่งด้วย

คันโยกที่ 3 สิงหาคม 2022 การขายลิขสิทธิ์ของ Barca Studios ธุรกิจผลิตสื่อของบาซ่า ให้แก่ Socios.com เว็บไซต์ธุรกิจคริปโต จำนวน 24.5% เป็นเงิน 100 ล้านยูโร โดยที่ทางผู้ซื้อจะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนากลยุทธ์ด้าน Audio Visual Equipment หรือ โสตทัศนูปกรณ์, บล็อกเชน, NFT และ Web.3 ของบาซ่าต่อไปด้วย

สิ่งที่น่าสนใจมากสุดในคันโยกนี้คือ ทำให้บาซ่ามีกำลังเงินมากพอที่จะสามารถลงทะเบียนนักเตะใหม่ที่ซื้อเสริมทัพเข้ามาก่อนหน้านี้ทั้งหมด 5 ราย ได้ทันเวลาก่อนตลาดซื้อขายนักเตะจะปิดตัวลง ได้แก่ โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้, ราฟินญา, ฟรองค์ เกสซิเย, อันเดรียส คริสเตนเซน และฌูลส์ กุนเด้ รวมถึงการต่อสัญญาสองนักเตะอย่าง อุสมาน เดมเบเล และแซร์จี้ โรแบร์โต้

คันโยกที่ 4 สิงหาคม 2022 การขายลิขสิทธิ์ของ Barca Studios ให้แก่ Orpheus Media บริษัทธุรกิจเกี่ยวกับโปรดักชันอีก จำนวน 24.5% เป็นเงิน 100 ล้านยูโร และครั้งนี้มีการเปลี่ยนชื่อ Barca Studios เป็น Barca Digital Entertainment (BDE) เพื่อมุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจต่อไป

ถึงแม้สถานการณ์ของบาซ่าจะกลับมาเป็นปกติได้เหมือนก่อน แต่สิ่งที่เสียไปก็คือกรรมสิทธิ์ต่างๆ ของสโมสรที่ตกไปอยู่ในมือของคนนอก รวมถึงการพัฒนาของสินค้าและบริการก็จะถูกพัฒนาโดยคนนอกเป็นระยะเวลาหลายปี ถ้าหากบาซ่าสามารถประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลได้ ก็นับว่าเป็นความเสียหายที่คุ้มค่า แต่ถ้าหากล้มเหลว การลงทุนที่เข้าเนื้อเหล่านี้ก็อาจจะสูญเปล่า และถูกจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของบาซ่าเลยก็ว่าได้

Scroll to Top